Art Therapy ศิลปะบำบัด คลายเครียด ฝึกสมาธิ
Posted On 16 July 2020

“ศิลปะ” ไม่ได้เป็นเพียงแค่เพียงศาสตร์แขนงหนึ่งที่ว่าด้วย เรื่องของความงดงาม ความคิดสร้างสรรค์ และการปลดปล่อย จิตวิญญาณเท่านั้น แต่ศิลปะยังช่วยให้เราเกิดความรู้สึกอิ่มเอม เบิกบานใจอันจะนำไปสู่ศาสตร์แห่งการบำบัดได้อีกด้วย
ดังจะเห็นได้จากการจัดงานเมื่อไม่นานมานี้ ของศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ภายใต้กิจกรรม ที่มีนิยามว่า “ศิลปะพัฒนาชีวิต” โดยมีเป้าหมายเพื่อฝึกสมาธิ ผ่อนคลายจิตใจ รวมถึงกระตุ้นการใช้กล้ามเนื้อที่จะช่วยบรรเทาอาการออฟฟิศซินโดรม และเป็นการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ผ่านผลงานศิลปะด้วยดินเกาหลี
จุดประสงค์หลักของกิจกรรม ครั้งนี้
ต้องการนำงานศิลปะที่ทุกเพศทุกวัยสามารถทำได้ มาช่วยสร้างความผ่อนคลาย ลดความตึงเครียดทั้งกาย และจิตใจ โดยไม่จำเป็นต้องกำหนดเป้าหมายว่าจะเป็นงานที่สมบูรณ์แบบหรือไม่ เพราะเป้าหมายหลักจะโคลสอัพไปที่ การบำบัดอาการของโรคออฟฟิศซินโดรม เช่น การทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ไปจนถึงภาวะความเครียด เนื่องจากความกดดันในการทำงาน ซึ่งทำให้เกิดภาวะ ผิดปกติต่างๆ“ศิลปะ” โดยทั่วไปเรามักเข้าใจกันว่า คือ กิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อการผ่อนคลายและความสุข สนุกสนาน แต่ในปัจจุบัน ศิลปะได้ขยายตัวเข้าไปสู่เขตแดนของการแพทย์ ที่สามารถนำมาเยียวยาผู้คนได้ เรียกกันว่า “ศิลปะบำบัด” มีประโยชน์ในด้านการพัฒนาอารมณ์ สติปัญญา สมาธิ ความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงการช่วยพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก และการประสานงานการเคลื่อนไหวของร่างกาย และยังเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยกระตุ้นการสื่อสาร และเสริมสร้างทักษะทางสังคม“กิจกรรมปั้นดินในครั้งนี้ เป็นศิลปะบำบัดที่ไม่เพียงแต่เสริมสร้างจินตนาการเท่านั้น แต่การปั้น นวด หรือกดลวดลาย ยังช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย ที่สำคัญดินเหนียวมีส่วน ผสมของน้ำ ขณะปั้น ดินจะดูดซับความร้อนจากร่างกาย แถมเมื่อปั้นได้ดีแล้ว ยังสามารถนำไปต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์งานฝีมือเพิ่มมูลค่าได้อีกด้วย” คุณวรรณประภา ยืนยัน หนักแน่น ภัทรศิริ กรณ์ธนสุขไพบูล คือผู้เข้าร่วมกิจกรรม วัย 39 ปี ที่ให้ความเห็นถึงคุณค่าในการทำกิจกรรมศิลปะปั้นดิน ว่า ปกติไม่เคยได้ทำงานศิลปะเลย เนื่องจากเวลาการใช้ชีวิตที่จำกัด แต่เมื่อได้ลองมาเข้าร่วมกิจกรรม ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย สนุกสนาน และทำให้ได้ใช้จินตนาการที่ไร้ขีดจำกัด
Share this:
- Click to share on Facebook (Opens in new window)
- Click to share on Twitter (Opens in new window)
- Click to share on Pinterest (Opens in new window)
- Click to share on Pocket (Opens in new window)
- Click to share on Tumblr (Opens in new window)
- Click to share on LinkedIn (Opens in new window)
- Click to share on Telegram (Opens in new window)
- Click to share on Skype (Opens in new window)
- Click to share on WhatsApp (Opens in new window)
- Click to share on Reddit (Opens in new window)
- Click to print (Opens in new window)
- Click to email a link to a friend (Opens in new window)
Related
Tags:popular