อาการจิตเป็นสมาธิ เป็นอย่างไร

อาการจิตเป็นสมาธิ

ถึงเวลาใดจิตรวมลงเป็นสมาธิจะรู้เองตอน นั้น  อธิบายยังไงก็ไม่เข้าใจ  เหมือนการกินอาหารแปลกๆ  เช่นมีคนบอกว่ากินไข่ปลาคาเวียร์ผัดเผ็ดอร่อยมากๆ  แต่ไม่รู้จะอธิบายยังไงให้คนที่ไม่เคยกินรู้ได้    ทางเดียวที่จะรู้คือไปกินเองลิ้มรสสัมผัสด้วยลิ้นตนเอง จึงจะเข้าใจ เช่นเดียวกับ  อาการจิตเป็นสมาธิ ต้อง ฝึกสมาธิ เองจึงจะเข้าใจ

จะลอง อธิบายคร่าวๆ  เวลาจิตรวมสงบลงเป็นสมาธิคือ อาการจิตเป็นสมาธิ จะรู้สึกเหมือนตัวเราหลุดไปอยู่อีกโลกหนึ่ง  ตัวเราจะกลายเป็นตัวรู้  ไม่มีร่างกาย  รู้นิ่งอยู่ที่อะไรสักอย่างแบบแน่วแน่เป็นอารมณ์เดียว  เช่า บางคนเห็นเป็นภาพนิมิตอะไรสักอย่าง  หรือบางคนเห็นเป็นความว่าง หรือบางคนเห็นเป็นแสงสว่าง ..ฯลฯ สารพัดอย่าง..

ขณะที่จิตรวมนั้น จะมีอาการปีติ สุข มากๆๆๆ  ความสุขตอนนั้นจะมหัศจรรย์ล้นเหลือ  เป็นความสุขของความสงบ ใครจะเอาสวรรค์ทุกชั้นมาเสนอแลกกับความสุขนั้นตอนนั้นจะไม่เอาแน่นอน .. เวลาจะดูเหมือนหยุดนิ่ง  มีแต่เวลาปัจจุบันเท่านั้น   ความรู้สึกต่างๆทางร่างกายจะไม่มี เสมือนร่างกายหายไปไม่มีอะไรเหลือ  

สมุติจิตรวมสงบไปนานหลายๆชั่วโมงหรือข้ามวันข้ามคืน  แต่รู้สึกเสมือนว่าแค่รวมไปอึดใจเดียว ๒-๓ นาที เท่านั้น  สมมุตินั่งสมาธิจนจิตรวมตอนหัวค่ำไปจนถึงสว่างจึงถอนออกมา(มันจะถอนเอง อัตโนมัติ)  แต่จะรู้สึกเสมือนว่าเพิ่งนั่งไปแค่ไม่กี่นาทีเท่านั้น … ฯลฯ  มีอะไรอีกมากมาย  ขี้เกียจอธิบาย  รอฝึกไปๆๆจนถึงเวลาจิตรวมเอง  จะรู้เอง …

ข้อควรระวังสำหรับมือใหม่ที่ยังไม่เคยได้จิตรวม  เมื่อจิตจะรวมครั้งแรกมักจะตื่นตระหนกจนถอนพรวดออกมา  เพราะจะรู้สึกคล้ายๆ กับว่าถูกดูดลงไปในหลุมดำ หรือเหวลึก  จะเกิดการกลัวตายอย่างมากจนถอนออกมา แทนที่จะได้ของดี  .. ให้ระลึกว่าถ้าเมื่อใดถึงตรงนี้  จงอย่ากลัวตาย เป็นไรเป็นกัน ยอมตาย  ให้ถูกดูดเข้าไปในหลุมดำนั่นเลย หรือตัดใจกระโดดลงไปในหลุมดำนั่นเลย(ตัวรู้ที่เป็นผู้กระโดด  ไม่ใช่ร่างกายหยาบ….ระหวังอย่าเผลอ)  ถ้าตัดสินใจได้เด็ดขาดตรงนี้  จิตจะรวมวูบเป็นอัปปนาสมาธิเลย  อันใดอันหนึ่ง … นั่นแหละตรงนั้นแหละ ถึงเวลาจะรู้ตระหนักเอง

เมื่อ ฝึกสมาธิ ถึงระดับหนึ่ง จะไปต่ออย่างไร?

ผมเคยสนทนากับผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง ที่ท่านเคยเป็นทั้งข้าราชการ นักธุรกิจ สมาชิกวุฒิสภา(สว.) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(สส.) และเป็นอดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในสมัยหนึ่ง ผู้ใหญ่ท่านนี้ไม่ได้เป็นนักบวชเป็นคนทำงานทางโลกเหมือนทุกคนทั่วไป แต่ท่านรักการปฏิบัติธรรมชอบนั่งสมาธิทุกวันก็ว่าได้ ปฏิบัติสม่ำเสมอมากว่า 30 ปี

ท่านเล่าเรื่องสมาธิที่ท่านศึกษามาว่า “สมาธินั้นมีทั้งหมด 40 วิธี 3ลักษณะ 1เอกภาพ” แล้วท่านขยายความต่อไปว่า 40 วิธีนั้นสามารถค้นหารายละเอียดได้จากตำราหนังสือพระพุทธศาสนาหรือพระไตรปิฎก ทั้ง 40 วิธีแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะคือ

1. กำหนดจุดทำสมาธิไว้นอกตัวเช่น การเพ่งกสิณ เพ่งกองไฟ
2. กำหนดจุดทำสมาธิไว้ในตัวที่เคลื่อนไหว เช่น กำหนดที่ลมหายใจเข้าออก ตาม ลมหายใจพอง-ยุบตรงท้อง
3. กำหนดจุดทำสมาธิไว้ในตัวแต่ไม่เคลื่อนไหว เช่น กำหนดพระพุทธรูปไว้ที่กลางท้องนั่งสมาธิหันไปทางเดียวกับตัวเรา กำหนดใจแตะเบาๆนิ่งๆที่ศูนย์กลางกายมองเฉยๆด้านท็อปวิวไปเรื่อยๆ

แล้ว 1 เอกภาพคืออะไร?

ท่านถ่ายทอดความรู้จากการปฏิบัติจริงต่อไปว่า 1 เอกภาพ คือการฝึกสมาธิทั้ง 40 วิธี ทุกวิธีเมื่อผู้ฝึกใจเป็นสมาธิได้ระดับหนึ่งจนกระทั่งใจหยุดนิ่งสนิทจะเกิด”ความสว่าง”พบกับความสุขที่ไม่เคยเจอมาก่อนแบบบอกไม่ถูก ความสว่างนี่แหละทุกวิธีจะได้เหมือนกัน แล้วจะเป็นต้นทางที่จะศึกษาสมาธิเชิงลึกหรือขั้นสูงอีกต่อไป
ผมพูดคุยกับหลายคนที่มีประสบการณ์การฝึกสมาธิสม่ำเสมอ เมื่อใจเริ่มรวมเป็นสมาธิจะพบอาการเหล่านี้ในขณะหลับตาอยู่

#รู้สึกเหมือนตัวหายไปกับบรรยากาศ
#รู้สึกเหมือนตัวยืดขยายขึ้น
#รู้สึกว่าลมหายใจหยุดหายใจชั่วขณะหรือแผ่วเบามากๆ
#รู้สึกว่านั่งสมาธิเพียงไม่กี่นาทีแต่เวลาจริงผ่านไปหลายชั่วโมงแล้ว
#รู้สึกเหมือนตกหลุมหรือตกลงไปในเหวลึกๆ

ถ้ามีอาการเหล่านี้เกิดขึ้น ผู้รู้ที่มีประสบการณ์การปฏิบัติบอกว่า”อย่าตกใจ” ให้แสวงหาครูบาอาจารย์หรือเข้าคอร์สการฝึกสมาธิที่มีผู้แนะนำให้การฝึกสมาธิของเราเจริญก้าวหน้าได้

อนึ่งการฝึกสมาธิบางคน ทำได้เร็วบางคนทำได้ช้า ขึ้นกับธาตุธรรมแต่ละคน คนที่มีธาตุธรรมพิเศษหรือทางพระพุทธศาสนาเรียกว่า คนที่สั่งสมบุญด้านการฝึกสมาธิมาหลายภพหลายชาติ ก็จะทำสมาธิได้เร็วกว่า และก็ไม่สามารถตอบได้ว่าใครจะฝึกได้เร็วกว่าใคร ต้องลองปฏิบัติดูด้วยตัวเอง แต่ไม่ว่าจะฝึกสมาธิได้เร็วหรือช้า การทำสมาธิทุกครั้ง มีแต่ให้ผลดีทั้งการเรียน การงาน สุขภาพ ชีวิตการเป็นอยู่ร่วมกัน บางคนก็มีธาตุธรรมแปลก ตั้งแต่วัยเด็ก วัยรุ่นก็ชอบการไปปฏิบัติธรรม ชอบแสวงหาครูบาอาจารย์สอนสมาธิ ซึ่งแตกต่างจากวัยเด็กวัยรุ่นทั่วไป ถ้าคุณเป็นคนลักษณะนี้ ขอแนะนำให้เข้าคอร์สการฝึกสมาธิในสถานที่อันสงบมีครูผู้รู้ผู้มีประสบการณ์คอยสอนสมาธิให้ครับ

เล่าเริ่องโดย มุกมรกต

การฝึกสมาธิ40วิธี

กสิน10 การทำสมาธิโดยพืจารณาธาตุสีต่างๆ

1. ปฐวีกสิน  เพ่งธาตุดิน
2. อาโปกสิณ  เพ่งธาตุน้ำ
3. เตโชกสิณ  เพ่งไฟ
4. วาโยกสิน  เพ่งลม
5. นีลกสิน เพ่งสีเขียว
6. ปีตกสิน  เพ่งสีเหลือง
7. โลหิตกสิณ  เพ่งสีแดง
8. โอฑาตกสิณ  เพ่งสีขาว
9. อาโลกกสิณ  เพ่งแสงสว่าง
10. อากาศกสิณ  เพ่งอากาศ

อสุภะ 10 คือทำสมาธิโดยพิจารณาซากศพชนิดต่างๆ

1.ศพขึ้นอืด
2.ศพที่เปลี่ยนสภาพเป็นสีเขียวคล้ำปนกับสีอื่นๆ
3.ศพที่มีน้ำเหลืองไหลเยิ้ม
4.ศพที่ขาดเป็น 2 ท่อน
5.ศพที่ถูกสัตว์กัดกินแล้ว
6.ศพที่ขาดกระจุยกระจาย มือ เท้า ศีรษะแยกขาดไปอยู่ข้างๆ
7.ศพที่ถูกสับเป็นท่อนๆ กระจัดกระจาย
8.ศพที่มีเลือดอาบ
9.ศพที่ถูกหนอนชอนไชเต็มไปหมด
10.ศพที่เหลือแต่กระดูก

อนุสติ 10 ประกอบด้วย

  1. พุทธานุสติ คือการระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า ด้วยความรู้สึกเลื่อมใส ศรัทธา
  2. ธัมมานุสติ คือการระลึกถึงคุณของพระธรรม ด้วยความรู้สึกเลื่อมใส ศรัทธา
  3. สังฆานุสติ คือการระลึกถึงคุณของพระอริยสงฆ์ ด้วยความรู้สึกเลื่อมใส ศรัทธา
  4. สีลานุสติ คือการระลึกถึงความบริสุทธิ์ของศีล
  5. จาคานุสติ คือการระลึกถึงการให้ทานที่ตนได้ทำไปแล้ว ด้วยความปีติใจ
  6. เทวตานุสติ คือการพิจารณาถึงบุญกุศลต่างๆ ที่ทำให้เกิดเป็นเทวดา แล้วระลึกถึงบุญกุศลต่างๆ ที่ตนได้ทำไว้แล้ว อันจะส่งผลให้ได้เกิดเป็นเทวดา
  7. มรณานุสติ คือการระลึกถึงความตายที่ต้องมีขึ้นเป็นธรรมดา
  8. กายคตาสติ คือการพิจารณาถึงร่างกายว่าประกอบไปด้วยส่วนต่างๆ เช่น ผม, ขน, เล็บ, ฟัน, หนัง, เนื้อ, เอ็น, กระดูก ฯลฯ เต็มไปด้วยของไม่สะอาด น่าเกลียด ไม่สวยงาม เป็นที่เกิดของโรคนานาชนิด ไม่น่ารักน่าใคร่ เพื่อไม่ให้ลุ่มหลงมัวเมาในกาย
  9. อานาปานสติ คือการเพ่งลมหายใจเข้าออก
  10. อุปสมานุสติ คือการระลึกถึงคุณของพระนิพพาน อัปปมัญญา 4 คือ การแผ่ความรู้สึกออกไปโดยไม่มีประมาณ ประกอบด้วย
  11. เมตตา คือความปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุข
  12. กรุณา คือความปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นจากความทุกข์
  13. มุทิตา คือความยินดีที่ผู้อื่นมีความสุข
  14. อุเบกขา คือความรู้สึกวางใจเฉยๆที่ไม่ยึดมั่นถือมั่น วางจิตเป็นกลาง ไม่หวั่นไหว สงบนิ่ง

อื่นๆ อีก 2 อย่างคือ

1.อาหาเรปฏิกูลสัญญา คือการพิจารณาถึงความเป็นปฏิกูล 
2.จตุธาตุววัฏฐาน 4 คือการพิจารณาร่างกายของตนว่าเป็นเพียงธาตุ 4 คือ ดิน, น้ำ, ไฟ, ลม เท่านั้น

อรูปสมาบัติ 4

1.อากาสานัญจายตนะ
2.วิญญาณัญจายตนะ
3.อากิญจัญญายตนะ 
4.เนวสัญญานาสัญญายตนะ

#มองหาสถานที่ปฏิบัติธรรมฝึกสมาธิ

เคยพบกับผู้มีภูมิรู้ภูมิธรรม ที่รักการปฏิบัติธรรมท่านหนึ่ง ซึ่งนั่งสมาธิทุกวันต่อเนื่องกว่า 50 ปี มีประสบการณ์ผลการปฏิบัติเป็นระดับครูสอนสมาธิได้ เล่าให้ฟังว่าได้แสวงหาสถานที่ปฏิบัติธรรมสอนสมาธิสำหรับผู้ฝึกใหม่ โดยได้พาลูกศิษย์เป็นหมู่คณะนักปฏิบัติธรรมกว่า 100 คน ทำการทดลองนั่งสมาธิตามสถานที่ต่างๆ ตั้งแต่ ความสูงระดับน้ำทะเลแล้วสูงขึ้นมาเรื่อยๆจนระดับภูเขาภูกระดึง โดยใช้เวลาในการเข้าคอร์ดปฏิบัติธรรมฝึกสมาธิอย่างน้อย 7 วัน

พบว่าสำหรับผู้ฝึกสมาธิ ที่ได้ผลการปฏิบัติดีแล้วสามารถทำที่ไหนก็ได้ แต่สำหรับผู้ฝึกใหม่กำลังเริ่มเรียนรู้การฝึกสมาธิเบื้องต้น สถานที่ปฏิบัติธรรมฝึกสมาธิ สถานที่ควรอยู่ระดับความสูง 1000 เมตรจากระดับน้ำทะเล จะช่วยให้ผู้ฝึกใหม่ทำสมาธิได้ดี บรรยากาศ อุณหภูมิ อากาศเอื้อให้ ฝึกสมาธิ ได้ง่ายขึ้น

โอกาสนี้ขอแนะนำสถานที่แห่งหนึ่งคือ อุทยานแห่งชาติภูเรือ มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอภูเรือ และอำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย อาณาเขตด้านทิศเหนืออยู่ติดกับประเทศลาว รูปพรรณสันฐานของภูเรือมีรูปร่างลักษณะเหมือนเรือใหญ่บนยอดดอยสูงเป็นภูผา สีสันสะดุดตาหินบางก้อนมีลักษณะเหมือนถูกปั้นแต่งไว้ ชาวบ้านเรียกว่า “กว้านสมอ” โดยรอบๆ จะเห็นยอดดอยเป็นขุนเขาน้อยใหญ่ใกล้เคียงเป็นฝ้าขาวด้วยละอองน้ำ หมอก ปกคลุมไว้ท่ามกลางป่าอันอุดมสมบูรณ์ มีเนื้อที่ประมาณ 120.84 ตารางกิโลเมตร

พื้นที่ป่าภูเรือประกอบด้วยทิวเขาสูง สลับซับซ้อนเรียงรายเป็นรูปต่างๆ น่าพิศวงสลับกับที่ราบเป็นบางส่วน สาเหตุที่ขนานนามว่า “ภูเรือ” เพราะมีภูเขาลูกหนึ่งมีชะโงกผายื่นออกมาดูคล้ายสำเภาใหญ่ และที่ราบบนยอดเขามีลักษณะคล้ายท้องเรือตลอดจนมีธรรมชาติและทิวทัศน์ที่สวย งาม ยอดเขาสูงที่สุดคือ ยอดภูเรือ มีความสูงถึง 1,365 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ยังมียอดเขาที่สำคัญ คือ ยอดเขาภูสัน มีความสูง 1,035 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง และยอดภูกุ มีความสูง 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ลักษณะเช่นนี้เองจึงเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญก่อให้เกิดลำธารหลายสาย เช่น ห้วยน้ำด่าน ห้วยบง ห้วยเถียงนา ห้วยทรายขาว ห้วยติ้ว และห้วยไผ่ ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของน้ำตกห้วยไผ่ที่สวยงามแห่งหนึ่ง

เนื่องจากจังหวัดเลย เป็นจังหวัดที่มีอากาศหนาวเย็นมากที่สุดของประเทศไทย ทำให้อุทยานแห่งชาติภูเรือ ซึ่งอยู่บนยอดเขาสูง มีอากาศเย็นตลอดปี โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาวจะหนาวเย็นมาก จนกระทั่งน้ำค้างบนยอดหญ้าจะแข็งตัวกลายเป็นเกล็ดน้ำแข็ง ซึ่งมีภาษาพื้นเมืองเรียกว่า “แม่คะนิ้ง” ผู้ที่จะไปพักผ่อนควรเตรียมตัวให้พร้อมที่จะผจญกับความหนาวเย็น
#Long Weekedคราวหน้า ไปท่องเที่ยวเชิงปฎิบัติธรรมกันครับ

แนะนำ สถานที่ปฏิบัติธรรม เพิ่มเติม https://www.facebook.com/groups/307281093970556/
แนะนำฝึก เรียนรู้การทำสมาธิเบื้องต้น
แนะนำฝึก การทำสมาธิขั้นสูง