การบริหารจิต และการเจริญปัญญา

การบริหารจิต และการเจริญปัญญา

การบริหารจิต และการเจริญปัญญา เป็นวิธีการทําจิตใจให้ผ่องใสและบริสุทธิ์ วิธีการหนึ่ง ซึ่งมีความสัมพันธ์กับ สติสัมปชัญญะ สมาธิ และปัญญา

1. ความหมายของสติสัมปชัญญะ สมาธิ และปัญญา

สติคือ ความระลึกได้หรือความจําได้ สัมปชัญญะคือ ความรู้ตัว มักจะใช้คู่กันจึงเรียกว่า สติสัมปชัญญะ แต่บางทีเรียกสั้นๆ ว่า สติ ก็ได้ สติหรือสติสัมปชัญญะ เป็นสิ่งที่จําเป็น สําหรับการกระทํา การพูด และการคิด ซึ่งในการกระทํา การพูด และการคิด เราต้องมีสติอยูตลอดเวลา ถ้าเราไม่มีสติ งานที่ทํา คําที่พูด และสิ่งที่คิดอาจผิดพลาดไม่สําเร็จ หรือขาดคุณภาพ

สมาธิคือ การมีใจตั้งมั่น หรือความตั้งมั่นแห่งจิต จิตมีหน้าที่คิด คิดอยู่ตลอดเวลา และคิดหลายเรื่อง ถ้าเราต้องการให้จิต คิดเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แต่เพียงเรื่องเดียวเราต้องมีสติ การมีสติคิดจดจ่ออยู่กับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เรียกวา อาการจิตเป็นสมาธิ เมื่อจิตเป็นสมาธิ ปัญญา คือ ความรู้ความเข้าใจที่เกิดขึ้นตามมา

2. วิธีปฏิบัติ และประโยชน์ของการบริหารจิต และการเจริญปัญญา

การบริหารจิต และการเจริญปัญญา มีวิธีปฏิบัติเป็นขั้นตอนดังนี้

2.1 กล่าวคํานมัสการพระพุทธเจ้าว่า
“นะโม…” ( 3 จบ) และคําบูชาพระรัตนตรัยวา่ “อิมินา สักกาเรนะ…)”

2.2 การสวดมนต์ไหว้พระสรรเสริญคุณพระรัตนตรัยว่า
“อะระหัง สัมมา สัมพุทโธ…”

2.3 สํารวมจิต ตัดความกังวลต่างๆ คิดถึงแต่สิ่งที่จะทํา กำหนดเวลาในการฝึกปฏิบัติ จากนั้นประนมมือกล่าวคําอธิษฐานว่า
“บัดนี้ข้าพเจ้าจะฝึกสมาธิภาวนา กำหนดสมาธิด้วยการยืน การเดิน การนั่ง และการนอน ขอให้ข้าพเจ้ามีสติตั้งมั่นฝึก ด้วยความพากเพียร อดทน จนเกิดสมาธิสมความตั้งใจปรารถนาเถิด”

2.4 นั่งสมาธิ หรือเลือกฝึกในอิริยาบถอื่น ได้แก่ เดินจงกรม ยืนสมาธิ และนอนสมาธิ ตามที่ตนเองถนัด
ศึกษาเพิ่มเติม : การนั่งสมาธิ 5 ​นาที ดีอย่างไร
ศึกษาเพิ่มเติม : ฝึก นั่งสมาธิ 10 นาที

2.5 ก่อนจะเลิกฝึกสมาธิ ให้กราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ 3 ครั้ง แผ่เมตตาและกรวดนํ้าอุทิศส่วนกุศล

ประโยชน์ของการบริหารจิตและการเจริญปัญญาการบริหารจิตและการเจริญปัญญามีประโยชน์ เช่น ทําให้จิตใจสงบเบิกบาน แจ่มใส ไม่วิตกกังวล มีความจําดี มีความรอบคอบ กระฉับกระเฉง มีความมั่นคงในอารมณ์ มีประสิทธิภาพในการทํางาน นอนหลับง่าย และหลับสนิท

3. การสวดมนต์ไหว้พระ และแผ่เมตตา

การสวดมนต์ไหว้พระ และแผ่เมตตา เป็นขั้นตอนหนึ่งของการบริหารจิต และการเจริญปัญญา การสวดมนต์ไหว้พระ มีคํากล่าวดังนี้

คํานมัสการพระพุทธเจ้า
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพทธัสสะ (กล่าว 3 จบ)
คํานมัสการพระรัตนตรัย
อะระหัง สัมมาสัมพทโธ ภะคะวา ุ พทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ)
สะหวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นามามิ (กราบ)

หลังจากสวดมนต์ไหว้พระเสร็จแล้ว เราควร แผ่เมตตา เพื่อเผื่อแผ่ความรัก และความปรารถนาดี ไปให้แก่ผู้อื่นด้วย โดยระลึกในใจ หรือเพลงวาจาดังนี้

คําแผ่เมตตา
สัพเพ สัตตา อะเวรา โหนตุ อัพยาปัชฌา โหนตุ อะนีฆา โหนตุ สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กัน และกันเลย จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกัน และกันเลย จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย จงมีแต่ความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด

4. การฝึกการยืน การเดิน การนั่ง และการนอนอย่างมีสติ

การฝึกให้มีสติในการยืน การเดิน การนัง หรือการนอนจะช่วยให้ปลอดภัย ไม่เกิดอุบัติเหตุหรือได้รับอันตราย ซึ่งเราต้องฝึกอยางสมํ่าเสมอ ดังนี้

4.1 ฝึกการยืนอย่างมีสติให้ยืนตัวตรง

การ ฝึกยืนอย่างมีสติ มือขวากุมมือซ้ายไว้ข้างหน้าหรือไพล่หลัง ก้มหน้าพองามหลับตา และภาวนาว่า พุท -โธ โดยหายใจเข้าภาวนาว่า “พุธ” หายใจออกภาวนาว่า “โธ” ฝึกปฏิบัติไปเรื่อยๆ จนกว่า จิตจะเป็นสมาธิ หรือเปลี่ยนอิริยาบถ

DLTV

4.2 ฝึกการเดินอย่างมีสติ

การ ฝึกเดินอย่างมีสติ ก่อนที่จะเดินซึ่งเรียกว่า เดินจงกรม ควรภาวนาในใจระลึกถึงการยืนว่า ยืนนหนอ ( 3 ครั้ง) และภาวนาว่า อยากเดินหนอ (3 ครั้ง) จากนั้นกาหนดการเดิน โดยกำหนดว่า ขวา-ย่่าง-หนอ ซ้าย-ย่าง-หนอ

การ เดินจงกรม ให้เดินกลับไปกลับมาในระยะ 10 ก้าว เมื่อเดินได้ประมาณ 9 ก้าว จะหยุดในก้าวที่ 10 ให้ภาวนาวา ซ้าย-ยกหนอ-เตรียมหนอ-หยุดหนอ เท้าซ้ายชิดเท้าขวา หยุดยืนตรงพร้อมภาวนาว่า ยืนหนอ (3 ครั้ง) จากนั้นภาวนาว่า อยากกลับหนอ ( 3 ครั้ง) และหมุนตัวกลับช้าๆ สู่ทิศทางเดิม แล้วเดินทรงกรมต่อไป

การหยุดเดินจงกรม ให้ยืนตรงและภาวนาว่า อยากหยุดหนอ ( 3 ครั้ง) แล้วค่อยๆ ยกมือขวาออก และเลื่อนลงพร้อมกับภาวนาว่า ยกหนอ-ลงหนอ-ปล่อยหนอ (ปล่อยมือขวาลง) และยกหนอ-ลงหนอ-ปล่อยหนอ(ปล่อยมือซ้ายลง)

DLTV

4.3 ฝึกการนั่งอย่างมีสติ

การ ฝึกนั่งอย่างมีสติ ในกรณีที่ฝึกต่อเนื่องจากการเดินจงกรม เมื่อปล่อยมือทั้งสองลงข้างตัวอย่างช้าๆ แล้ว ให้ปฏิบัติดังนี้

1) เลื่อนเท้าซ้ายถอยหลัง ยอตัวลง เข่าจดพื้น มือซ้ายเท้าลงที่พื้น แล้วนังขัดสมาธิ โดยเท้าขวาวางทับเท้าซ้าย มือขวาวางหงายทับมือซ้าย นั่งตัวตรงและหลับตา

2) กำหนดลมหายใจเข้า-ออก พร้อมภาวนาว่า พุท-โธ โดยหายใจเข้าภาวนาวา พุท หายใจออกภาวนาว่า โธ ภาวนาไปเรื่อยๆ จน จิตสงบเป็นสมาธิ

3) เมื่อนั่งได้ตามเวลาที่กำหนดแล้ว ต้องการเลิกนั่่งสมาธิให้ภาวนาว่า อยากเลิกหนอ (3 ครั้ง) พร้อมกลับยกมือขวาขึ้นช้าช้า วางควํ่าบนเข่า และยกมือซ้ายขึ้นช้าๆ วางควํ่าบนเข่า ลืมตาขึ้น แล้วภาวนาว่า เห็นหนอ (3 ครั้ง)

DLTV

4.4 ฝึกการนอนอย่างมีสติ

การ ฝึกนอนอย่างมีสติ โดยนั่งพับเพียบ ยกมือซ้ายมาวางที่ท้อง มือขวาเท้าพื้น ค่อยๆ เอนตัวนอน พร้อมกับภาวนาในใจว่า นอนหนอ จนกว่าจะนอน เรียบร้อยจากนั้นยกมือขวา มาวางทับมือซ้ายที่หน้าท้อง ให้มีสติอยู่ที่ท้อง แล้วภาวนาว่า พองหนอ ยุบหนอ ต่อไปเรื่อยๆ จนนอนหลับไป

อย่างไรก็ตาม ยังมีการฝึกนอนอยางมีสติ อีกวิธีหนึ่่งที่นิยมปฏิบัติกัน คือ ให้นอนตะแครงขวาสอนเท้าเหลื่อมกันเล็กน้อย แบมือขวารองศีรษะ มือซ้ายวางราบไปตามตัวเหยียดขาตรง หรือคู้เล็กน้อยก็ได้ การฝึกนอนอย่างมีสติจะทําให้จิตใจสงบนิ่ง นอนหลับสนิท เมื่อตื่นขึ้นมาจะสดชื่นแจ่มใส ไม่ง่วงเหงาหาวนอน

DLTV

5. การฝึกกําหนดรู้ความรู้สึก

ความรู้สึกเกิดขึ้นเมื่่อ อายตนะ ภายใน และภายนอกกระทบกัน อายตนะภายใน คือ อวัยวะที่ทําหน้าที่รับรู้ ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ อายตนะภายนอก คือ สิ่งรอบกายที่ถูกรับรู้ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส สิ่งที่มากระทบกาย และอารมณ์ การฝึกกาหนดความรู้สึก เมื่อตาเห็นรูป หูฟังเสียง จมูกดมกลิ่น ลิ้นลิ้มรส กายสัมผัสสิ่งที่มากระทบ และใจรับรู้อารมณ์ที่เกิดขึ้น สามารถปฏิบัติได้ดังนี้

5.1 ฝึกการเห็น เช่น ระลึกถึงตา ภาวนาว่า ตาหนอลืมตาขึ้น ภาวนาว่า ลืมตาหนอ มองดู ภาวนาว่า เห็นหนอ มองดูอะไรก็ภาวนาถึงสิ่งนั้น เช่น มองดูดอกไม้ก็ภาวนาว่า เห็นดอกไม้หนอ

5.2 ฝึกการได้ยิน เช่น ระลึกถึงหู ภาวนาว่า หูหนอ ตั้งใจฟัง ภาวนาวา ได้ยินหนอ ฟังเสียงอะไรก็ภาวนาถึงสิ่งนั้น เช่น ฟังเสียงนกก็ภาวนาว่า ได้ยินเสียงนกหนอ การฝึกการได้กลิ่น การลิ้มรส การสัมผัส และการใช้ความคิด เราควรฝึกในลักษณะดังกล่าว การฝึกำหนดรู้ความรู้สึก นอกจากจะทําให้จิตสงบแล้ว ยังทําให้รู้จักระมัดระวัง เพราะรู้ตนเองว่ากำลังทําอะไรอยู่ ความผิดพลาดก็จะไม่
เกิดขึ้น

6. การฝึกให้มีสมาธิในการฟัง การอ่าน การคิด การถาม และการเขียน

การฟัง การอ่าน การคิด การถาม และการเขียน เป็นกิจกรรมที่จําเป็น สําหรับการศึกษาเล่าเรียน และการดําเนินชีวิตประจําวัน กิจกรรมต่างๆ เหล่านี้จะดําเนินไปได้ด้วยดีมีประสิทธิภาพ และเกิดผลดี จําเป็นต้องมีสติ และสมาธิคอยกำกับ คือ เราจะต้องทํากิจกรรมต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ฟังเข้าใจ อ่านได้รู้เรื่อง คิดแต่เรื่องดี ถามเรื่องที่เป็นประโยชน์ เขียน หรือจดบันทึกถูกต้อง ดังนั้น เราจึงต้องหมั่นฝึกให้มีสติในการฟัง การอ่าน การคิด การถาม และการเขียน ด้วยการฝึกสมาธิอย่างสมํ่าเสมอ

ติดตามข้อมูลข่าวสารขากเราได้ที่ : PunditSpirit.com

ขอขอบคุณภาพและข้อมูล : DLTV.ac.th