การนั่งสมาธิ สำหรับเด็ก (เคล็ดลับ)

เคล็ดลับ การนั่งสมาธิ สำหรับเด็ก เพื่อเพิ่มพลังงานบวก เพื่อเพิ่มมุมมองทางความคิด เตรียมความพร้อมสำหรับเปิดรับโลกกว้าง
การเริ่มฝึกฝนนั่งสมาธิ ตั้งแต่อายุยังน้อย มีประโยชน์ต่อลูกๆ ทั้งทางด้านร่างกาย และด้านจิตใจ เคล็ดลับ คือ สร้างกิจวัตรประจำวันของลูกๆ ให้สนุกไปพร้อมกัน
ลองสังเกตว่าลูกคุณมีอาการแบบนี้หรือเปล่า?
อาการเหม่อลอย อยู่ไม่นิ่ง วอกแวกง่าย ไม่ตั้งใจฟัง ต้องบอก หรือสั่งซ้ำ ชอบพูดคุยในห้องเรียน ความจำไม่ดี ขี้ลืม ลายมือไม่เป็นระเบียบ เขียนช้า ไม่ชอบอ่านหนังสือ ผลการเรียนอ่อนลง ปัญหาการเข้าสังคม ขาดความมั่นใจในตนเอง ปฏิเสธและปิดกั้นการเรียนรู้สิ่งใหม่
อาการที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นเป็นอาการที่แสดงออกในเด็กที่ขาดสมาธิ หรือเราสามารถเรียกโดยชื่อที่เรารู้จักกันดีว่า “อาการสมาธิสั้น”
แล้วอาการ สมาธิสั้น เกิดจากอะไรหล่ะ?
สาเหตุ ที่แท้จริงของการเกิด อาการสมาธิสั้น ในเด็กนั้น เกิดจาก หลายปัจจัย รวมกัน ปัจจัยหลักๆ ก็คือ
ปัจจัยด้านพันธุกรรม โรคนี้สามารถถ่ายทอดจากพ่อแม่ ได้ถึงร้อยละ 75
ปัจจัยด้านระบบประสาท เด็กที่มีอาการสมาธิสั้น จะมีการทำงาน ของสมองส่วนหน้า ที่ควบคุมเกี่ยวกับเรื่องของสมาธิ และการควบคุมตัวเองน้อยกว่าปกติ
ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม หากมารดามีการดื่มสุรา และ หรือ สูบบุหรี่ ขณะตั้งครรภ์ ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้เด็ก มีอาการสมาธิสั้นได้ รวมไปถึง การคลอดก่อนกำหนด และการมีน้ำหนักตัวแรกคลอดต่ำกว่าเกณฑ์ ด้วยเช่นกัน
และ อีกหนึ่งสาเหตุ ที่อาจทำให้เด็กเกิดอาการ สมาธิสั้น ได้ก็คือ “การเลี้ยงดู” เพราะ การเลี้ยงดูที่ไม่มีกฎระเบียบ และทิศทางที่แน่นอนตายตัว ตามใจ และ การเลี้ยงดู ที่ไม่มีความสอดคล้อง หรือ ไปในแนวทางเดียวกันของผู้ปกครอง หรือ แม้กระทั้งการที่ให้เด็กๆ อยู่กับหน้าจอมือถือ หรือ สื่ออิเล็กโทรนิค มากเกินไป จะทำให้เด็กปกติ มีอาการคล้ายกับเด็กที่มีอาการ สมาธิสั้น ได้ ซึ่งอาการแบบนี้เรียกว่า “สมาธิสั้นเทียม“
เราสามารถ แก้ไขอาการ สมาธิสั้น ได้อย่างไรบ้าง?
การรับประทานยา ตามที่แพทย์สั่ง โดยแพทย์ จะจัดยาให้เหมาะสมกับอายุ และ อาการของเด็ก เพื่อให้ยาไปกระตุ้น ให้เกิดการหลั่งสารสื่อประสาทในสมองเพิ่มมากขึ้น แต่การใช้ยาในการรักษาก็มีข้อจำกัดเช่นกัน เนื่องจาก ยาบางชนิด อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงอื่นๆ ขึ้นได้ ด้วยเช่นกัน
การปรับพฤติกรรม และกระตุ้นพัฒนาการเด็ก การปรับพฤติกรรม และ กระตุ้นพัฒนาการเด็ก จะช่วยให้เด็กเรียนรู้ที่จะควบคุมอารมณ์ตนเอง และทำให้เด็กมีพัฒนาการแต่ละด้านเหมาะสมกับ ช่วงวัยของเด็ก ช่วยให้เด็กสามารถเรียนรู้ และ จดจ่อกับสิ่งต่างๆ เป็นเวลานานขึ้นได้
การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การรับประทานอาหาร ที่มีประโยชน์ จะช่วยส่งเสริมสมดุล ให้สารเคมีในสมอง ทำให้สมองทำงานได้เต็มประสิทธิภาพมากขึ้น แต่หากให้เด็กรับประทานอาหาร บางประเภท ที่มีส่วนผสมของน้ำตาล หรือ มีคาเฟอีนที่มากเกินไป จะยิ่งไปกระตุ้นอาการสมาธิสั้นของเด็กให้มีเพิ่มขึ้นมาได้
การนั่งสมาธิ
การนั่งสมาธิ สำหรับเด็ก ไม่ใช่การฝึกให้เด็กนั่งนิ่งๆ 10 นาที พ่อ และ แม่ ควรสอนลูกๆ ให้ทราบว่า สุขภาพจิต นั้นสำคัญ เหมือนสุขภาพกาย ในช่วงเวลาที่ฝึกฝนทำสมาธิ และหลังจากการทำสมาธิ เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดที่ทำให้ลูกๆ ได้รู้จักตัวตนของตนเองมากขึ้น และทำให้สามารถจัดการควบคุมความรู้สึกตนเองได้ดีขึ้น
เมื่อใดก็ตามที่ลูกๆ รู้สึกง่วงนอน หรือเศร้า หรือเกียจคร้าน ลองทำตามคำแนะนำด้านล่างไปพร้อมกับพวกเขา และสังเกตว่าอารมณ์ความรู้สึกปฏิกิริยา และระดับพลังงานมีการเปลี่ยนไปอย่างไร บางครั้งเพียงแค่การนั่งตัวตรงขึ้นก็สามารถทำให้ร่างกายและจิตใจของคุณตื่นขึ้น และทำให้เกิดพลังงานบวกแก่คุณได้
Zip Up และ Sit Up
ลองจินตนาการว่า วันนี้ เป็นวันที่อากาศเย็น และมีแดด ต้องใส่เสื้อหนาว และแว่นกันแดด (จินตนาการ) ของคุณให้เรียบร้อยก่อนออกไปเล่น นี่เป็นในการเริ่มต้นวันใหม่ ที่ดี และทำให้คุณอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมสำหรับการทำสมาธิอื่นๆ ในแบบต่อไป เช่น คุณสามารถ ทำสมาธิได้บนเตียงนอน สำหรับตอนเช้าเมื่อคุณไม่ต้องการลุกจากเตียงนอน
1. นั่งไขว่ห้างบนพื้น หรือบนเตียง
2. สมมติว่า คุณกำลังสวมเสื้อหนาวที่มีซิป จุดเริ่มจากปุ่มท้องของคุณไปที่คอของคุณ
3. นั่งตัวตรง แล้วจินตนาการทำท่าเหมือนรูดซิปขึ้น แล้วพูด “รูดซิบขึ้นzzzzz” ออกมาดังๆ จะทำให้หลังตรงขึ้น
4. จากนั้นถึงเวลาใส่แว่นกันแดดของคุณ โดยทำวงกลม 2 วง โดยใช้นิ้วโป้งแตะที่นิ้วชี้ ทั้งสองข้าง จากนั้นใช้นิ้วมือที่เหลือค้างไว้
5. นำแว่นกันแดดของคุณ ไปที่ดวงตาของคุณและมองออกไปให้ไกลๆ ที่สุดเท่าที่คุณจะเห็น
6. จากนั้นวางแว่นกันแดด ลงบนหัวเข่ารักษาหลังให้ตรง คุณและลูกก็พร้อมที่จะนั่งสมาธิแล้ว
7. จากนั้นปิดตาและปากของคุณ แล้วจินตนาการว่าคุณกำลังหายใจเข้าในสายลมหนาวผ่านจมูกของคุณ จากนั้น เปิดปากแล้วผ่อนลมหายใจออกพูดว่า “อ่าาาาาาาาา” ในขณะที่คุณสูดอากาศเย็นๆ หายใจเข้า หายใจออกอย่างนั้น อีก 3 ถึง 8 ครั้ง
8. จากนั้นลองเปิดตาผ่อนคลายมือ แล้วสังเกตว่าร่างกายของคุณรู้สึกอย่างไร
คุณพ่อ และ คุณแม่ ลองฝึกเรื่อง การนั่งสมาธิ แก่ลูกๆ ให้เป็นนิสัย โดยให้ลองฝึกเป็นประจำเหมือนการแปรงฟัน หรือ นั่งทานอาหารเช้า เพื่อให้พวกเขาสามารถเข้าถึงการรับรู้ที่มากขึ้น ประโยชน์ที่จะเกิดกับทางร่างกาย และจิตใจต่อไป
สามารถติดตามความเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วได้ที่ Facebook : PunditSpirit.com
สามารถอ่านบทความอื่นๆ ได้ที่ punditspirit.com
Share this:
- Click to share on Facebook (Opens in new window)
- Click to share on Twitter (Opens in new window)
- Click to share on Pinterest (Opens in new window)
- Click to share on Pocket (Opens in new window)
- Click to share on Tumblr (Opens in new window)
- Click to share on LinkedIn (Opens in new window)
- Click to share on Telegram (Opens in new window)
- Click to share on Skype (Opens in new window)
- Click to share on WhatsApp (Opens in new window)
- Click to share on Reddit (Opens in new window)
- Click to print (Opens in new window)
- Click to email a link to a friend (Opens in new window)