ชาไทย เครื่องดื่มยอดนิยมในไทย

ชาไทย เครื่องดื่มยอดนิยมของไทย

ชาไทย หรือที่รู้จักกันว่า ชาเย็น ในไทย โดยต้นตำหรับเป็นเครื่องดื่มเย็นดับร้อน เป็นเครื่องดื่มที่ชง โดยใช้ ชาซีลอน ชงอย่างเข้มข้น แต่เนื่องจากชาซีลอนมีราคาแพง และมีปลูกเฉพาะที่เท่านั้น จึงนิยมใช้ใบเมี่ยง ( ที่เป็นพันธุ์พื้นเมือง-แบบดั้งเดิมหรือแบบที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ) มาใส่สีผสมอาหารมากกว่า หรืออาจมีการผสมน้ำลอยดอกส้ม, โป๊ยกั๊ก, เมล็ดมะขามบด หรือ สีผสมอาหารแดงและเหลือง, หรืออาจจะเป็นเครื่องเทศชนิดอื่นๆ ก็ได้ เพิ่มความหวานโดยใช้น้ำตาลและนมข้นหวาน เสิร์ฟแบบเย็น ส่วนใหญ่แล้วก่อนเสิร์ฟจะมีการเติมนมข้นจืดระเหย, กะทิหรือ นมสด เติมน้ำแข็งตาม เพื่อเพิ่มรสชาติ และให้ดูเข้มข้นน่าดื่ม ซึ่งในไทยนิยมผสมนมข้น, น้ำตาล กับชาก่อน แล้วค่อยเทใส่ถ้วยที่มีน้ำแข็ง ปิดท้ายด้วยการราดนมข้นจืดระเหย

เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศเขตร้อน ชาจีนร้อนจึงไม่ค่อยเป็นที่นิยมในหมู่คนไทย ในร้านอาหารไทยทั่วโลก มักจะเสิร์ฟชาเย็นในแก้วทรงสูง แต่ถ้าเป็นร้านข้างทาง หรือร้านค้าในตลาด จะใช้น้ำแข็งบดละเอียด เทใส่ถุงพลาสติกสำหรับเครื่องดื่ม หรือแก้วพลาสติกใบสูง ชาเย็น บางร้าน จะผสมชาเทไปมาด้วยความสูงประมาณ 4 ฟุตสลับไปมา ( หรือที่เรียกว่า ชาชัก ) ถ้าเป็นร้านที่ทันสมัย จะมีเมนูแบบปั่น ด้วย จึงเกิดเป็นชื่อเรียก ชาไทย ในแบบต่างๆ ซึ่งคำว่า ‘ ชาไทย (Thai Tea) ’ มาจากฝรั่งเรียก เพราะเป็นชาที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และหาดื่มได้ในประเทศไทยเท่านั้น

หากกล่าวถึง ชาไทย คงขาดไม่ได้ที่จะต้องกล่าวถึง ชาไทยอันดับหนึ่ง นั้นคือ ชาตรามือ
ผู้บุกเบิกแบรนด์แรกที่เปิดโรงงานชาขึ้น ณ ดอยวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย โดยใช้ชื่อโรงงานเริ่มต้นว่า “โรงงานชาหอม” และได้พัฒนาผลิตชาไทยที่มีคุณภาพเรื่อยมา ทำให้เป็นที่ชื่นชอบคนไทย และชาวต่างชาติจนถึงปัจจุบัน

ในเรื่องของกระบวนการผลิต ชา จะเริ่มจากการเก็บ ใบชาสด แล้วนำมาเข้ากระบวนการที่ทำให้เกิดการหมัก ในระดับที่แตกต่างกันไป ซึ่งเมื่อจัดแบ่งประเภทชาตามระดับของการหมักแล้ว

สามารถแบ่งชาหลัก ๆ ออกได้เป็น 3 ประเภท คือ

1. ชา ที่ไม่ผ่านการหมักเลย ชาขาว (White tea), ชาเขียว (Green tea)
2. ชา ที่ผ่านการหมักบางส่วน ชาอู่หลง (Oolong tea)
3. ชา ที่ผ่านการหมักอย่างสมบูรณ์ ชาดำ (Black tea)

ไขความลับ สารประกอบหลักในชา

พอลิฟีนอล : สารที่มีผลต่อสี และรสชาติของ ชา เป็นแหล่งสารต้านอนุมูลอิสระ
เอนไซน์ : ตัวช่วยเร่งปฏิกิริยาที่ทำให้สี และรสชาติของชาเปลี่ยน ซึ่งปฏิกิริยาจะหยุดเมื่อโดนความร้อน
กรดอะมิโน : ธีอะนีน คือกรดอมิโนที่เด่นที่สุด เชื่อว่าดีต่อสมอง เมื่อถูกดูดซึมพร้อมกับคาแฟอีนจะช่วยให้ผ่อนคลาย ไม่ง่วงซึม
ธีอารูบิจิน : สารประกอบที่ทำให้สีเข้มขึ้น และรสชาติฝาดขึ้น
คาร์โบไฮเดรต : ตัวขับเคลื่อนปฏิกิริยาในระหว่างที่ต้นชาเติบโต และระหว่างการแปรรูปชา
แร่ธาตุ : ในชามีแร่ธาตุหลายชนิด แต่ที่เด่นที่สุดคือ แร่ฟลูออรีนซึ่งมีส่วนช่วยในการรักษาฟัน ปริมาณของแร่ธาตุในชาต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมในการปลูก และอายุของชาเมื่อนำไปแปรรูป
สารประกอบรสชาติ และกลิ่นที่สลายตัวได้ง่าย : สารประกอบเหล่านี้สามารถรวมตัวกันเป็นโครงสร้างที่ซับซ้อน ที่ให้สี และกลิ่นอ่อนๆ
คาเฟอีน : คาเฟอีนมีผลต่ออัตราการเต้นของหัวใจ คลื่นสมอง และการทำงานของร้างกายทั้งด้านดี หรือด้านร้าย ระดับคาเฟอีนของชานั้น ขึ้นอยู่กับพันธุ์ชา สภาพแวดล้อมในการปลูก และอายุของชาเมื่อนำไปแปรรูป

ประโยชน์จากชา

1. ชาเป็นแหล่งวิตามิน แร่ธาตุ และสารต้านอนุมูลอิสระ ในแถบตะวันออกไกลมีการใช้ชาปรุงอาหารมานานกว่า 100 ปี ชาเป็นเครื่องดื่มที่มีธาตุอาหารอยู่หลากหลายชนิด ช่วยบำรุงร่างกายให้มีสุขภาพดี และช่วยกระตุ้นระบบประสาท และร่างกายให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. ในใบชามีสารคาเฟอีน ที่ช่วยกระตุ้นระบบประสาท ทำให้ช่วยหมุนเวียนโลหิต
3. ใบชาที่ตากจนแห้งแล้วสามารถนำไปทำเป็นไส้ หมอนหนุนได้ โดยหมอนที่ทำด้วยใบชาจะมีกลิ่นหอม ซึ่งมีสรรพคุณช่วยคลายความเครียด
4. น้ำชาสามารถนำไปอาบชำระร่างกายเพื่อกำจัดกลิ่นตัว และป้องกันการเกิดโรคผิวหนังได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ การอาบน้ำชาจะทำให้สีของน้ำชาติดบนผิว ส่งผลให้สีผิวดูคล้ำขึ้น เรียกว่าเป็นการทำผิวสีแทนเทียม (Fake Tan) โดยไม่ต้องเสี่ยงกับโรคมะเร็งผิวหนังจากการอาบแดดด้วย
5. น้ำชาที่ถูกทิ้งไว้จนเย็นแล้ว หากนำมาสระผมจะช่วย ให้ผมเงางามและนุ่มสลวย
6. น้ำชาที่ชงอย่างสะอาด และถูกหลักอนามัยสามารถนำมาใช้ล้างตา แทนน้ำยาล้างตาทั่วไปได้ โดยจะมีสรรพคุณ ช่วยลดความตึงเครียดของตา
7. นำน้ำชามาล้างแผลสด จะช่วยระงับการเจริญเติบโตของเชื้อโรค และบรรเทาอาการปวดได้ ไม่เพียงเท่านั้น น้ำชายังสามารถช่วยลดอาการอักเสบได้อีกด้วย
8. น้ำชาสามารถล้างกลิ่น และคราบน้ำมันที่เกิดจากการหยิบจับเนื้อสัตว์ได้เป็นอย่าง
9. การล้างเท้าด้วยน้ำชาช่วยขจัดปัญหากลิ่นเท้าได้
10. การนำน้ำชาไปล้างอุปกรณ์ที่ทำจากไม้ซึ่งยังมีกลิ่นติด อยู่ ช่วยขจัดกลิ่นสีได้
11. การนำใบชาไปแช่ไว้ในตู้เย็นจะช่วยดูดกลิ่นไม่พึง ประสงค์ในตู้เย็นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เห็นไหมว่า “ชา” มีประโยชน์เกินตัว เรียกได้ว่ามีติดบ้านไว้ ดื่มก็ได้ แถมใช้งานได้สารพัด แลวจะรออะไร หันมาดื่มชากันเถอะค่ะ

credit: goodlifeupdate

สรรพคุณของชา

1. ใบนำมาต้มเคี่ยวเอาน้ำกิน ช่วยกระตุ้นทำให้กระชุ่มกระชวย ไม่ง่วงนอน ทำให้ตาสว่าง กระตุ้นให้หายเหนื่อย (ใบ)
2. ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ หน้ามืดตามัว (ใบ)
3. ใบชานำมานึ่งแล้วหมักกับเกลือ ทำเป็นคำ ๆ ใช้อม จะช่วยทำให้คอชุ่ม แก้อาการกระหายน้ำได้ดีมาก (ใบ)
4. ช่วยแก้อาการร้อนในกระหายน้ำ (ใบ)
5. ใบชามีสรรพคุณช่วยบำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น (ใบ)
6. รากชามีสรรพคุณช่วยกระตุ้นให้หัวใจบีบตัวแรงขึ้น แก้โรคหัวใจบวมน้ำ (ราก)
7. ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด (ใบ)
8. กิ่งและใบมีสรรพคุณเป็นยาแก้หืด (ใบ,กิ่ง)
9. ใบมีฤทธิ์เป็นยาฝาดสมานใช้รักษาและลดอาการท้องร่วง (ใบ)
10. ใบใช้เป็นยาแก้บิด (ใบ)
11. ใบแห้ง ใช้ชงใส่น้ำตาล กินเป็นยารักษาอาการปวดท้อง (ใบ)
12. รากใช้เป็นยาแก้ท้องเสีย (ราก)
13. ช่วยในการย่อยอาหาร (ใบ)
14. ช่วยขับปัสสาวะ (ราก,ใบ)
15. ช่วยแก้ตับอักเสบ (ราก)
16. ใบมีสรรพคุณเป็นยาแก้พิษ (ใบ)
17. กิ่งและใบ นำมาชงแก่ ๆ ใช้รักษาอาการเป็นพิษของยาอันตรายที่เป็นอัลคาลอยด์ต่าง ๆ (กิ่งและใบ)
18. รากมีสรรพคุณช่วยต้านเชื้อ แก้ปากเป็นแผล (ราก)
19. กิ่งมีสรรพคุณเป็นยาสมานแผล (กิ่ง)
20. ใบใช้เป็นชะล้างแผล สมานแผล แก้บวม (ใบ)
21. ราก เมล็ดและน้ำมันใช้เป็นยาภายนอก แก้แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แก้แผลเปื่อย (ราก,เมล็ดและน้ำมัน)
22. กากใบชาใช้เป็นยาพอกแผล สำหรับแผลที่ถูกไฟไหม้น้ำร้อนลวก (กากใบชา)
23. กิ่งและใบใช้ทำเป็นน้ำยาสมานของกรดแทนนิน ใส่แผลไหม้พอง (กิ่งและใบ)
24. ราก เมล็ดและน้ำมัน ใช้ภายนอกเป็นยาแก้โรคผิวหนัง กลากเกลื้อน (ราก,เมล็ดและน้ำมัน)
25. ใบก็มีสรรพคุณรักษากลากเกลื้อนได้เช่นกัน (ใบ)
26. ใบชามีสรรพคุณช่วยรักษาอาการปวดเมื่อยตามร่างกายได้ดี (ใบ)

ข้อควรระวังในการดื่มชา

สำหรับบางคน การดื่มชาอาจจะไม่เหมาะสม และอาจทำให้เกิดโทษได้

ผู้ที่มีปัญหานอนไม่ค่อยหลับ นอนหลับยาก หรือเป็นโรคนอนไม่หลับ ไม่ควรดื่มชาก่อนเข้านอน เพราะคาเฟอีนที่มีอยู่ในชาจะมีฤทธิ์กระตุ้นประสาท ทำให้ไม่ง่วงนอน และลดความสามารถและระยะเวลาในการนอนหลับ

ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจ ไม่ควรดื่มชา เพราะคาเฟอีนจะทำให้หัวใจเต้นเร็ว หลอดเลือดหดตัว ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองและหัวใจได้ไม่สม่ำเสมอ ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น

คาเฟอีนยังทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงได้อีกด้วย ดังนั้นชาจึงไม่เหมาะกับผู้ป่วยเบาหวาน

ส่วนผู้ที่มีไข้สูง สาเหตุที่ไม่ควรดื่มชาก็เพราะจะทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น หัวใจเต้นเร็ว ยิ่งทำให้ตัวร้อนมากขึ้น และแทนนินยังทำให้ร่างกายขับเหงื่อออกมาน้อยกว่าปกติ

คาเฟอีนมีฤทธิ์เพิ่มการหลั่งกรดในกระเพาะ ผู้ที่เป็นโรคกระเพาะ หรือมีปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะและลำไส้จึงไม่ควรดื่ม เพราะจะทำให้รู้สึกอึดอัด อาเจียนออกมาเป็นน้ำใส ๆ และไม่ควรดื่มชาเวลาท้องว่างในตอนเช้า เพราะจะทำให้ระบบการย่อยอาหารผิดปกติ แต่ถ้าอยากดื่มชาในตอนเช้า ก็ควรหาอะไรกินรองท้องก่อน

ผู้ที่ไตทำงานบกพร่องหรือมีอาการไตวาย ก็ไม่ควรดื่มชามากจนเกินไป เพราะร่างกายจะไม่สามารถขับน้ำออกทางปัสสาวะได้ตามปกติ และทำให้ไตทำงานหนักขึ้น

ผู้ป่วยไทรอยด์ไม่ควรดื่มชา เพราะอาการกระสับกระส่ายจะยิ่งรุนแรงขึ้นไปอีกเพราะฤทธิ์ของคาเฟอีน

สำหรับสตรีที่รับประทานยาคุมกำเนิดไม่ควรดื่มชา โดยเฉพาะก่อนและหลังกินยาคุม 4 ชั่วโมง เพราะสารแทนนินจะทำให้สารต่าง ๆ ในยาคุมกำเนิดละลายตัวยากและดูดซึมได้น้อยลง

สตรีตั้งครรภ์ที่ไม่ควรดื่มชา สาเหตุก็เพราะอาจเป็นอันตรายต่อเด็กในครรภ์ได้[9]
แม่ลูกอ่อนที่ให้นมลูก ก็ไม่ควรดื่มชา เพราะจะทำให้สารต่าง ๆ ในน้ำชาจะผ่านไปทางนมแม่ ทำให้ทารกขาดแร่ธาตุสำคัญ และยังทำให้ความสามารถในการขับน้ำนมของแม่ลดลงด้วย

เด็กเล็กก็ไม่ควรดื่มชา เพราะจะทำให้ร่างกายย่อยและดูดซึมอาหารได้ไม่เต็มที่ เป็นอุปสรรพคุณต่อการเจริญเติบโต

สารคาเฟอีนในชา มีฤทธิ์กระตุ้นประสาท และมีผลเสพติดอ่อน ๆ ถ้าไม่ได้ดื่มแล้วอาจจะรู้สึกหงุดหงิดได้ และร่างกายไม่ควรได้รับคาเฟอีนเกินวันละ 200 มิลลิกรัม (ประมาณ 4-5 ถ้วย) ผลของคาเฟอีนจะอยู่ได้ประมาณ 8-14 ชั่วโมง และร่างกายจะต้องใช้เวลามากกว่า 48 ชั่วโมงในการสลายคาเฟอีน ถ้าหากร่างกายได้รับคาเฟอีนในปริมาณสูงหรือประมาณ 3,000-10,000 มิลลิกรัม จะทำให้ตายได้ในเวลาอันสั้น

ใบชาที่มีคุณภาพต่ำจะมีกรดแทนนินอยู่มาก มีผลต่อกระเพาะอาหารหรือลำไส้ ส่งผลให้ดูดซึมอาหารได้ไม่เต็มที่ ซึ่งอาจนำไปสู่การเจ็บป่วยด้วยอาการขาดธาตุเหล็กในเลือด และเมื่อแทนนินรวมกับโปรตีนจะทำให้ย่อยโปรตีนยากขึ้นด้วย

การดื่มชาที่เข้มข้นมาก ๆ จะมีผลทำให้กระเพาะอาหารดูดซับอาหารได้น้อยลง ทำให้ระบบการย่อยอาหารทำงานผิดปกติ ซึ่งจะทำให้ท้องผูกได้ ยิ่งถ้าดื่มตอนท้องว่างติดต่อกันเป็นเวลานาน ก็อาทำให้เป็นโรคกระเพาะอาหารได้ แต่ทางที่ดีควรจะดื่มชาหลังรับประทานอาหารไปแล้วประมาณ 2-3 ชั่วโมง

ใบชามีสารออกซาเลต (Oxalate) แม้จะมีอยู่น้อย แต่ถ้าดื่มมาก ๆ และดื่มเป็นประจำ สารนี้ก็อาจสะสมในร่างกายและเป็นอันตรายต่อไตได้

ใบชายังมีองค์ประกอบอื่น ๆ ที่มีโทษต่อร่างกาย แต่ไม่ค่อยมีคนกล่าวถึง นั่นก็คือฟลูออไรด์ที่มีในปริมาณสูง อาจทำให้เกิดการสะสมและมีผลทำให้ไตวาย เกิดมะเร็งลำไส้ โรคข้อ โรคกระดูกพรุน และโรคอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับกระดูกได้ แต่ถ้าดื่มไม่มากก็ไม่ต้องเป็นกังวล

ไม่ควรดื่มชาขณะกินยา ไม่ว่าจะยาแผนโบราณหรือยาแผนปัจจุบัน เพราะสารต่าง ๆ ในน้ำชาอาจไปทำปฏิกิริยากับยาที่กินเข้าไป เช่น ทำให้คุณสมบัติของยาลดลง หรืออาจกลายเป็นพิษได้ แต่หากต้องดื่มชาในยามป่วยก็ควรต้องดื่มก่อนหรือหลังกินยาประมาณ 2 ชั่วโมง และให้ชงอ่อน ๆ เข้าไว้

ผู้ที่รับประทานวิตามินหรืออาหารเสริม เช่น เกลือแร่ ธาตุเหล็ก หรือยาที่คล้ายคลึงกัน ควรหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำชาร่วมด้วย เพราะสารสำคัญจากใบชาจะไปตกตะกอนธาตุเหล็กหรือเกลือแร่ ทำให้ไม่ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย

ในระหว่างที่กินยาบำรุงโลหิตก็ไม่ควรดื่มชา เพราะแทนนินจะไปทำปฏิกิริยากับธาตุเหล็ก ซึ่งเป็นสารสำคัญในการช่วยบำรุงโลหิต ทำให้ดูดซึมธาตุเหล็กได้น้อย รวมไปถึงผู้ที่กินยาบำรุงต่าง ๆ เช่น โสม เขากวาง ก็ไม่ควรดื่มชาเช่นกัน เพราะมันจะไปหักฤทธิ์กัน

การดื่มชาไม่ควรดื่มชาในขณะที่ยังร้อนจัด เพราะความร้อนจะไปทำลายเนื้อเยื่อในช่องปากจนทำให้เกิดอันตรายในช่องปาก ลำคอ รวมถึงลำไส้ได้

ไม่ควรดื่มชาที่ชงค้างไว้นานหลายชั่วโมง เพราะจะมีกรดแทนนินสูง และสารต่าง ๆ ในน้ำชาอาจทำปฏิกิริยาจนกลายเป็นสารพิษได้

เคล็ดลับการชงชา

1.อุ่นกาใส่ชาให้ร้อนก่อนเสมอ : ขั้นตอนแรกของการที่จะทำให้สามารถดึงรสชาติของชาได้มากที่สุดก็คือ การใส่น้ำร้อนลงไป แล้ววนรอบในกา แล้วเททิ้ง เพื่อเป็นการวอร์มทำให้การ้อนก่อน สาเหตุก็เพราะใบชาต้องการความร้อน

2. ปริมาณต้องพอเหมาะ อุณหภูมิน้ำเดือดต้องพอดี : เมื่อพูดถึงวิธีการชงชาว่า นักชงชามักแนะนำว่าให้ใช้ชา 1 ช้อนสำหรับคนหนึ่งคน แล้วบวกเข้าไปอีก 1 เสมอ เมื่อชงแล้วหากว่ามีรสเข้มเกินไป คราวต่อไปก็ให้ลดจำนวนชาลง ทั้งนี้ความเข้มของชาจะขึ้นอยู่กับจำนวนชาและจำนวนน้ำเป็นหลัก สำหรับชาดำนั้นควรใช้อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส นั่นก็คือ อุณหภูมิน้ำเดือด เมื่อน้ำเดือดแล้วก็ให้ใส่น้ำร้อนเข้าไปในชาได้เลย และไม่ควรทิ้งน้ำให้เดือดนาน ๆ เพราะออกซิเจนในน้ำจะหายไป ทำให้รสชาติน้ำเปลี่ยน แต่ถ้าเป็นชาขาว ชาเขียว และชาอู่หลง ให้ใช้อุณหภูมิต่ำกว่าเล็กน้อย เมื่อน้ำเดือดแล้ว เราอาจจะต้องปิดไฟแล้วรอสัก 2-3 นาที เพื่อให้อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย เพราะชากลุ่มนี้เป็นชาที่ละเอียดอ่อนกว่า ถ้าใช้อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียสจะทำให้ชากลุ่มนี้ขมเกินไป

3. ชาแบบซองไม่ต้องแกว่ง แต่ให้ใช้เวลา : หลายคนนิยมนำชาที่เป็นซองมาชงดื่ม สิ่งที่เป็นปัญหาก็คือ หลายคนไม่ทราบว่าต้องทิ้งระยะไว้นานเท่าไหร่ หลาย ๆ คนคิดว่าเมื่อเทน้ำร้อนลงไป หลังจากผ่านไป 30 วินาที แล้วก็กระตุกถุงชา จะทำให้น้ำเริ่มเปลี่ยนสี แต่ความจริงแล้วมันเป็นวิธีที่ผิด สิ่งที่คุณเห็นในแก้วชา มันก็เป็นแค่น้ำที่มีสีเหมือนชาเท่านั้น แต่รสชาติยังไม่ใช่ชา เพราะแท้จริงแล้วการชงชาจะต้องใช้เวลาประมาณ 3 นาที ถึงจะดึงรสชาติและคุณภาพจริง ๆ ออกมาได้ ข้อสำคัญอีกอย่างก็คือ ไม่ควรกระตุกซองชา แต่ควรปล่อยไว้นิ่ง ๆ อย่างนั้นแล้วรอจนกว่าจะครบ 3 นาที แล้วจึงค่อยนำถุงชาออกมา

4. คุณภาพของชา : เพื่อรักษาคุณภาพของชา ควรเก็บใบชาไว้ในภาชนะที่มีผาปิดสนิท และไม่วางรวมกับของที่มีกลิ่นแรง เพราะชามีสรรพคุณในการดูดซับกลิ่น

5. น้ำที่ใช้ชงชา : ไม่ใช้น้ำที่ผ่านการต้มมาแล้วหลายครั้งมาใช้ชงชา เพราะน้ำที่ต้มจะมีปริมาณออกซิเจนน้อย ทำให้น้ำมีรสชาติชืด นำมาชงชาไม่อร่อย

6. กาที่ใช้ชงชา : ควรล้างให้สะอาดอยู่เสมอ เพราะหากกาชามีคราบฝังอยู่เนื่องจากล้างกาไม่สะอาด จะทำให้น้ำชาที่ได้มีรสชาติขมเกินไป ส่วนวิธีการล้างกาชงชาให้สะอาดก็ทำได้ไม่ยาก นั่นก็คือ ให้ใช้เบคกิ้งโซดา 2 ช้อนชา เทลงไปในกาที่มีน้ำเดือดอยู่ จากนั้นแช่ทิ้งไว้ประมาณ 2-3 ชั่วโมง แล้วล้างออกเบา ๆ อีกครั้ง จะทำให้คราบหลุดออกมาอย่างง่ายดาย

7. การเสิร์ฟชา : ก่อนเสิร์ฟชา ควรหมุนวนกาน้ำชาสักสามรอบก่อนนำมาเสิร์ฟ ที่สำคัญหลังชงชาเสร็จควรเสิร์ฟในทันที เพราะถ้าหากปล่อยไว้นานเกิน 10 นาที จะทำให้รสชาติของชาเปลี่ยนไป

8. การดื่มชา : การดื่มชาเข้มข้นก่อนอาหารหรือหลังอาหารทันที จะทำให้กระเพาะลำไส้ดูดซึมอาหารได้น้อยลง ซึ่งเวลาที่เหมาะสมสำหรับการดื่มชาก็คือหลังอาหารประมาณ 2-3 ชั่วโมง และไม่ควรดื่มชาที่ชงทิ้งไว้นานหลายชั่วโมง เพราะน้ำชาอาจบูด และทำให้สารต่าง ๆ ทำปฏิกิริยากัน ทำให้ชาเสื่อมคุณภาพ

เห็นไหมค่ะว่า “ชา” มีประโยชน์เกินตัว เรียกได้ว่ามีติดบ้านไว้ ดื่มก็ได้ แถมใช้งานได้สารพัด แล้วจะรออะไร หันมาดื่มชากันเถอะค่ะ

ติดตาม ข่าวสาร สาระความรู้ มากมาย ที่ www.punditspirit.com กันได้นะคะ

#ชา #ชาไทย #ชาเย็น #ดื่มชา #ชาตรามือ