การเผยแผ่ธรรมะ ในยุคดิจิตอลออนไลน์ ข้อคิดจาก รุ่นพี่ ชมรมพุทธศาสน์ ม.อ.

ตั้งแต่มีวิกฤติโรคระบาด Covid 19 ได้ส่งผลกระทบ ต่อวิถีชีวิตของทุกคน ส่งผลให้ทุกคนจำต้องปรับเปลี่ยนการทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวัน จากเดิม ที่เราสามารถเดินทางไปมาหาสู่กันได้ ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางโดยรถยนต์ รถไฟ หรือเครื่องบิน เพื่อการทำงาน เพื่อการเรียน เพื่อมาร่วมประชุม การพบปะทั่วๆไปในการใช้ชีวิตประจำวัน หรือแม้แต่เพื่อการท่องเที่ยว และสันทนาการต่างๆ ได้กลายเป็นการเข้าสู่ยุคออนไลน์ สื่อสารกันผ่านจอ มองหน้ากัน พูดคุยกัน ผ่านระบบออนไลน์เกือบทั้งหมด ด้วยเหตุผลที่ว่าทุกคนต่างก็ระวังตัวเอง ทำกิจกรรมแบบ Social distancing (มีระยะห่างทางสังคม) โดยหลีกเลี่ยงไม่ได้

ชมรมพุทธศาสน์

ชมรมพุทธศาสน์ และพุทธศาสนิกชน ก็เป็นส่วนหนึ่ง และองค์กรหนึ่ง ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติโรคระบาดนี้เช่นเดียวกัน และต้องมีการปรับตัวและปรับรูปแบบในการทำกิจกรรมเผยแพร่ธรรมะ ด้วยการนำเอาเทคโนโลยีด้าน IT (การนำเทคโนโลยีและสารสนเทศมารวมกัน รวมเป็น เทคโนโลยีสารสนเทศ) หรือ คอมพิวเตอร์และการสื่อสารผ่านอินเตอร์เนตเข้ามาใช้เพื่อรองรับการจัดกิจกรรมต่าง ๆ โดยหลีกเลี่ยงไม่ได้ จากเดิม ที่ทำกันเพียงเป็นทางเลือกเสริมๆในองค์กร แต่สำหรับปัจจุบันนี้ คิดว่าจำเป็นต้องเป็น ทิศทางหลัก หรือไม่ก็ต้องมีความเน้นให้มากขึ้นกว่าเดิม เช่นตัวอย่างที่จะนำเสนอ

ตัวอย่างงานโครงการ และ แนวทางการปรับกิจกรรม

โครงการจัดตักบาตร

เป็นกิจกรรมที่ ชมรมพุทธศาสตร์ ได้จัดขึ้นเป็นประจำทุกสัปดาห์ มีพุธศาสนิกชนที่ให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก เป็นจำนวนหลักพันคน มาร่วมทำบุญตักบาตร ร่วมนั่งสมาธิพร้อมเพียงกันกับพระสงฆ์หลายสิบรูป ในยุคโควิดนี้ เราไม่สามารถทำกิจกรรมใดๆ ที่มีการรวมตัวกันเกิน 5 คนได้ จึงต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบกิจกรรมให้เหมาะสม

กิจกรรมของ ชมรมพุทธศาสน์ ของนักศึกษาในสถาบันต่างๆ

จากประสบการณ์ที่เคยทำกิจกรรมสำหรับ ชมรมพุทธศาสน์ ม.อ. และติดตามการทำกิจกรรมของ ชมรมพุทธศาสน์ ของนักศึกษาในสถาบันต่างๆ ทุกที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงปรับตัวให้ตัวเองเข้าสู่ Platform ต่างๆในโลกดิจิตอลออนไลน์เป็นอย่างมาก และได้ศึกษาหาความรู้และความคิดสร้างสรรในการปรับรูปแบบโครงการทุกโครงการ ไปสู่ระบบโซเซียล แพลทฟอร์มต่างๆอย่างมากมาย นับเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุด หากจะถือเป็นบุญกุศลอันยิ่งใหญ่มากๆในการริเริ่มโครงการบุญใหม่ๆ ทั้งยังปรับปรุงโครงการเก่าให้เข้าสู่ยุคดิจิตอลโดยทันที เป็นการเผยแผ่ธรรมะได้อย่างต่อเนื่องไม่สะดุด และถือเป็นผลดีที่สามารถกระจายออกสู่วงกว้างได้มากกว่ากิจกรรมในรูปแบบเดิม เป็นต้น

แพลตฟอร์มต่างๆที่สามารถนำมาใช้ในกิจกรรมของ ชมรมพุทธศาสน์ ได้แก่

  1. Google ทำให้การค้นคว้าหาข้อมูลต่างๆ เป็นไปได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น สามารถค้นหาในคอมพิวเตอร์ หรือแม้กระทั่งในมือถือก็ทำได้ การเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ทำได้ทุกที่ ทุกเวลาโดยไม่จำเป็นต้องไปที่ห้องสมุด
  2. facebook (FB) ทำให้มีช่องทางการพบปะเพื่อน การติดตามข่าวสารคนดัง หรือคนที่เราเลื่อมใส ทำได้ง่ายๆ แม้ว่าจะอยู่ห่างไกลกันคนละมุมโลก ยังมีกลุ่มต่างๆที่เราสนใจ สามารถเข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้มากมาย
  3. LINE เป็น platform ในการสร้างกลุ่ม ที่มีลักษณะเดียวกันหรือกิจกรรมเดียวกัน เราสามารถโทรศัพท์คุยกัน หรือ วีดีโอคอล หากันได้ไม่ว่าคุณจะอยู่มุมไหนของโลก โดยไม่ต้องเสียค่าโทรศัพท์ จึงเป็นที่นิยมมากในประเทศไทยและแถบเอเชีย
  4. Zoom และระบบคอนเฟอร์เรนส์ทางไกลต่างๆ เป็นระบบสื่อสารที่นิยมมากในการประชุมในองค์กรต่างๆ ที่เห็นหน้าตา เห็นการเคลื่อนไหวของหลายคนพร้อมกัน แม้อยู่ต่างที่กัน รวมถึงการจัดรายการ ทำงานเป็นทีมมี 1 ช่อง ในการเผยแพร่ธรรมะหรือข่าวสาร
  5. TIKTOK เป็นการทำสื่อเสียง&ภาพเคลื่อนไหวสั้นๆ เป็นที่นิยมมากในหมู่เยาวชน วัยรุ่น และวัยทำงาน

แพลตฟอร์มที่กล่าวมานี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ใช้ เป็นหลัก ในยุคปี 2564 นี้ เมื่อได้ทราบถึงแพลตฟอร์มแล้ว ก็คงต้องพูดถึงการทำเนื้อหาสาระหรือ Content ที่โดนใจถูกกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งมีความสำคัญมาก ในยุคดิจิตอลออนไลน์ จนเป็นที่ทราบกันดีในกลุ่มคนทำสื่อว่า Content is  the King ซึ่งเราต้องมาทำความเข้าใจว่า เรากำลังจะเชิญชวน หรือต้องการส่งสารไปถึงคนกลุ่มใด โดยการเตรียมเนื้อหาสาระ และระดับของเนื้อหา ต้องครอบคลุมและน่าสนใจ เพื่อที่จะไปถึงกลุ่มคนเป้าหมาย ด้วยคอนเทนต์ หรือเนื้อหาสาระที่แตกต่างกันออกไป

รูปแบบการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ ที่เปลี่ยนไป

เราลองคิดดูว่า ในสมัยก่อนเราเคยเดินไปน็อคดอร์เพื่อประชาสัมพันธ์ตามบ้าน ไปพูดคุยแจกเอกสารเชิญชวน เราคุยทีละคน ทีละคนแต่ปัจจุบันนี้ง่ายกว่ามาก ผู้คนต่างก็เป็นสมาชิกในแพลตฟอร์มต่าง ๆ บน social network อยู่แล้ว ด้วยจำนวนคนที่มากมายมหาศาลเพียงเราหาช่องทางที่เหมาะสมในการที่จะสื่อสารออกไปให้ถึงคนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของเรา ด้วยเนื้อหาสาระที่สามารถทำความเข้าใจ ด้วยข้อความที่กะทัดรัด และน่าเชื่อถือนั่นเอง เราก็สามารถเผยแพร่สื่อประชาสัมพันธ์ออกไป  และตรงกลุ่มเป้าหมายเป็นจำนวนมาก ด้วยเวลาอันสั้น

คนที่เคยออกไปพบปะพูดคุย ไปบอกบุญ บอกข่าวบุญต่างๆ ตอนนี้ก็ต้องปรับตัว เปลี่ยนรูปแบบการเชิญชวน มาโพสในโซเชียลเน็ตเวิร์ก ซึ่งก็จะมีคนติดตาม และคนมากด Like ซึ่งจะเห็นได้เด่นชัดว่า คนกลุ่มไหนที่สนใจในกิจกรรมของเรา ดังนั้นเราต้องพุ่งเป้าหมายไปที่คนเหล่านี้เป็นพิเศษ ชมรมพุทธศาสน์ คงต้องทำการบ้านเพื่อตรวจสอบรายชื่อบุคคลเหล่านี้ด้วย เพราะถ้าไม่สนใจก็เท่ากับทิ้งสมาชิกใหม่เหล่านี้ไปโดยปริยาย

ความเข้าใจในการใช้แพลตฟอร์มต่างๆของ Social Media ได้แก่ ทางเว็บไซต์ Facebook YouTube  tiktok หรือ Zoom เป็นเรื่องสำคัญในการช่วยเผยแพร่ข่าวสารไปยังกลุ่มคนต่างๆนั้น คาดว่าเรื่องพวกนี้ยังใหม่สำหรับ น้องๆ นักทำกิจกรรม จึงขออธิบายอย่างสั้นๆให้ทราบถึงกลไกบางอย่าง แต่เป็นเรื่องสำคัญ ถ้าไม่ทราบก็จะทำให้การเผยแผ่ การเชิญชวนบอกบุญ เป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ และเสียเวลาอีกด้วย

เหตุผลและความจำเป็นในการ กดไลค์ กดแชร์ และแสดงความเห็นใน Facebook

การกดแชร์ 1 ครั้งใน Facebook

การกดแชร์ 1 ครั้งใน Facebook จะมีเพื่อนที่เป็นสมาชิกของเราได้รับข้อมูลประมาณ 3 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น จากจำนวนสมาชิกทั้งหมด ไม่ใช่ว่าเพื่อนของเราทุกคนจะเห็น

การกดแชร์ ซ้ำหลายครั้ง

ไม่ได้หมายความว่าสมาชิกของเราใน Facebook จะมองเห็นเพิ่มขึ้น แต่การที่สมาชิกใน Facebook ที่ติดตามช่วยกันกดถูกใจและกดแชร์ จึงจะทำให้เรื่องราวที่ส่งใน Facebook ไปถึงกลุ่มเป้าหมายเพิ่มขึ้น

การแสดงความคิดเห็น

  • การกดแชร์เพียงอย่างเดียวมีน้ำหนักน้อยมาก ในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ เมื่อเทียบกับการกดถูกใจและมีข้อความแสดงความเห็น
  • เทคนิคการช่วยประชาสัมพันธ์ข่าวสารผ่านทาง Facebook Live ที่มีเนื้อหา สาระ ชวนติดตาม สอดแทรก ธรรมมะในชีวิตประจำวัน อย่างเช่นที่ หลวงพี่สมปอง หรือ หลวงพี่ไพรวัลย์ ทำแล้วเกิดกระแส ก็เป็นตัวอย่างที่ดี ที่เราได้เห็นปรากฏการณ์ใหม่ๆที่เกิดขึ้นกับสังคม
  • สาเหตุที่การ Live ผ่าน Platform ต่างๆเช่น Youtube, Facebook Live หรือ Platform อื่นๆที่อาจจะมีมาใหม่ในอนาคต สาระสำคัญคือ เป็นการสื่อสารได้ 2 ทาง สามารถแสดงความคิดเห็นหรือ มีส่วนร่วมได้
ชมรมพุทธศาสน์

โดยสรุปจากที่กล่าวมาข้างต้น

คงต้องบอกน้องๆ ชมรมพุทธศาสน์ ว่า เทคโนโลยีไปเร็ว เราจำเป็นต้องปรับตัว ทั้งในแง่ของ การศึกษาเทคโนโลยี ต่างๆ และบริบท ในขณะนี้ที่ ต้องมี ระยะห่างทางสังคม เราต้องเรียนรู้ และนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เป็น ใช้ให้เกิดประโยชน์ และรวมถึงการที่ต้องระมัดระวังในการใช้งาน อย่าให้ตกเป็นเหยื่อของมิชฉาชีพ หรือ Application ที่มุ่งร้าย เช่น Malware หรือ Ransomware ต่างๆ ที่อาจเข้ามาใน Device ของเราโดยไม่รู้ตัว เราควรศึกษาหาความรู้ ปรับปรุงระบบ ให้มีความปลอดภัยอยู่เสมอ อย่ากดรับ Link หรือ โฆษณาต่างๆ ที่ไม่แน่ใจ … และรู้มั๊ย ตอนนี้เราสามารถ ร่วมนั่งสมาธิ หรือ แม้กระทั่งถวายสังฆทาน ออนไลน์ได้แล้วนะ


ติดตามข้อมูลข่าวสารของเราได้ที่ : PunditSpirit.com
ศึกษาธรรมะ สมาธิ เจริญปัญญา :https://punditspirit.com/category/meditation/